ดาวน์โหลดเอกสาร () จาก 20

โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่คล่องตัวมากขึ้นสำหรับความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่กำลังพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ

จากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายในวิถีชีวิตและรูปแบบการทำงานของเรา  การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อเรื่องการดูแลสุขภาพ  สถานพยาบาลหลายแห่งกำลังมองหาการจัดการความต้องการของผู้ป่วยด้วยวิธีการเสมือน  ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานพยาบาลส่วนกลางที่ใจกลางเมืองเพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ นอกจากนี้องค์กรด้านการดูแลสุขภาพกำลังสำรวจว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลทางการแพทย์ระยะกลางถึงระยะยาวที่บ้านได้อย่างไร

ด้วยความต้องการการให้คำปรึกษาและการดูแลที่บ้านเสมือนจริงที่เพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกระจายศูนย์หรือติดตั้งการดำเนินงานด้านไอทีในสถานที่ต่างๆ ที่กระจายตัวเพื่อโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่คล่องตัวมากขึ้น 

การติดตั้งการดูแลสุขภาพที่ขอบเครือข่าย

ในการดำเนินการดังกล่าว ทีมไอทีจะต้องคำนึงถึงการสนับสนุนความต้องการด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งอาจรวมไปถึง:
  • โซลูชันการแพทย์ทางไกลสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์โดยใช้อุปกรณ์การแพทย์เคลื่อนที่ทางไกลสำหรับการให้คำปรึกษาเสมือนจริง
  • เข้าถึงประวัติสุขภาพที่จัดเก็บด้วยระบบอิเล็กทรอนิกได้เร็วขึ้น  ประวัติสุขภาพมักจะถูกจัดเก็บไว้ที่ศูนย์ข้อมูลกลาง
  • การประเมินทางการแพทย์ของกลุ่มตัวอย่างและการทดสอบที่ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ในพื้นที่ที่กระจายตัวออกไปหรืออยู่ห่างไกลเพื่อผลลัพธ์การวินิจฉัยที่เร็วขึ้น 
  • การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ การศึกษา และแนวโน้ม
  • มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลและสิ่งอำนวยความสะดวกในการประมวลผลที่เพียงพอ สำหรับการใช้งานกับเทคโนโลยีภาพ
  • การแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยีชนิดสวมใส่ หรือการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อเก็บรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล
couple-talks-with-therapist-getty-912074078.jpg

ความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่ขอบเครือข่าย

ด้วยข้อพิจารณาข้างต้น ทีมโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอาจมีความกังวลเมื่อต้องวางแผนการติดตั้งศูนย์ข้อมูลในพื้นที่ที่กระจายตัวออกไปหรืออยู่ห่างไกล ข้อกังวลส่วนหนึ่งประกอบด้วย:
537927079
  • เวลาแฝง - ควรทำอย่างไรเพื่อให้ถ่ายโอนข้อมูลวิดีโอหรือภาพถ่ายได้รวดเร็ว เพื่อให้บุคลากรด้านการดูแลสุขภาพเข้าถึงข้อมูลได้ฉับไวยิ่งขึ้น
  • ควรทำอย่างไรเพื่อให้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ข้อมูลได้เพียงพอสำหรับเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อให้อุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ทำงานได้ดี
  • ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับพลังงานและการระบายความร้อน
  • ระยะเวลาและขอบเขตของการให้บริการที่ต้องใช้ในการติดตั้งศูนย์ข้อมูลที่สมบูรณ์
  • ทรัพยากรที่จำเป็นในการติดตั้งและบำรุงรักษาศูนย์ข้อมูล

ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ (MDC) สำหรับใช้งานกับเอดจ์

แทนที่จะติดตั้งศูนย์ข้อมูลแบบเต็มรูปแบบตามสถานที่แบบกระจายตัว ทีมโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อการดูแลสุขภาพอาจพิจารณาใช้ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ (MDC) แทนได้  ด้วย ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ (MDC) รุ่น iCube ของ Eaton จะทำให้การดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลใกล้กับผู้ใช้มากขึ้น หรือที่มักจะเรียกว่า “ใกล้เคียงกับ Edge” ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ (MDC) สามารถติดตั้งในสถานที่ห่างไกลหรือที่กระจายตัวอยู่ได้แทนที่จะติดตั้งในสถานที่ส่วนกลาง หรือแม้กระทั่งติดตั้งในสถานที่ที่มีห้องข้อมูลขนาดเล็กลง ระบบทำงานเร็วขึ้นและใช้งานง่ายขึ้นเมื่อเทียบกับศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิมซึ่งอาจใช้เวลาติดตั้งนานกว่า และศูนย์ข้อมูลระดับไมโครยังได้รับการวางระบบมาแล้วล่วงหน้าก่อนจัดส่งมา

ส่วนประกอบของไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ (MDC) ที่ได้รับการวางระบบไว้ล่วงหน้า ได้แก่ ตู้แร็ค, UPS, PDM, ระบบระบายความร้อนในตู้แร็คเพื่อการระบายความร้อนที่ตรงเป้าหมายและเหมาะสมที่สุด, โฮสต์ติดตามระบบเพื่อใช้จัดการศูนย์ข้อมูลระดับไมโคร (MDC), หน้าจอสัมผัส, เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิและความชื้น รวมไปถึงอุปกรณ์ควบคุมและจ่ายไฟฟ้า (PDU)

doctor-hands-making-heart-getty-625299414.jpg

ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ (MDC) มีการบำรุงรักษาหลังการใช้งานที่ง่ายกว่า และสามารถปรับขนาดระบบได้ตามความต้องการในอนาคต  Eaton iCube มาพร้อมกับระบบการจัดการและการตรวจสอบที่ครอบคลุมพร้อมฟังก์ชันที่ชาญฉลาดและสามารถจัดการได้เพื่อสร้างการจัดการแบบบูรณาการ การตรวจสอบแบบเรียลไทม์ การบันทึกเหตุการณ์ และการตรวจจับสถานะการทำงานของระบบ  ระบบสามารถตรวจจับข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วเพื่อปรับปรุงความน่าเชื่อถือของประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมลดความซับซ้อนของงานบำรุงรักษาโดยบุคลากรผู้ดูแลระบบไอที  ผู้ใช้จะสามารถตรวจสอบ UPS, เครื่องปรับอากาศ, ตู้ระบบควบคุมและจ่ายไฟฟ้า, อุณหภูมิและความชื้น, น้ำ, ควันและพารามิเตอร์สภาพแวดล้อมทั่วไปอื่นๆEaton iCube ได้รับการออกแบบขึ้นมาในดีไซน์ระบบแบบแยกส่วน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกตัวเลือกได้ตามความต้องการของศูนย์ข้อมูลที่แตกต่างกัน ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถปรับเปลี่ยนและอัปเดตผลิตภัณฑ์ที่ตนเลือกได้อย่างง่ายดาย  

เนื่องจากไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ (MDC) สามารถติดตั้งได้ในสถานที่ที่ห่างไกลหรือกระจายตัว จึงสามารถลดเวลาแฝงได้  ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยอุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์อัจฉริยะจะถูกเก็บรวบรวม ณ สถานที่ห่างไกลหรือกระจายตัวที่มีไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ติดตั้งอยู่ ซึ่งมักเรียกกันว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ขอบเครือข่าย ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไม่จำเป็นต้องถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ส่วนกลางหรือที่ตั้งใจกลางเมือง ซึ่งจะช่วยลดเวลาแฝงของเครือข่ายได้